หัวข้อ ประชาชนคิดอย่างไรกับโฉมหน้า ครม. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
                  ด้วยวันที่ 24 กันยายน 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี
ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “
ประชาชน
คิดอย่างไรกับโฉมหน้า ครม. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
”   โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป   ในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ระบุว่าทราบรายชื่อ ครม. ชุดใหม่แล้ว จำนวนทั้งสิ้น 1,155 คน เมื่อวันที่ 25 กันยายน
ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกที่มีต่อ ครม. ชุดใหม่ พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่พอใจในภาพรวมของ ครม. ชุดใหม่
โดยให้เหตุผลว่า
คุณสมบัติและความรู้ความสามารถของรัฐมนตรี
หลายคนไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง มีประวัติที่
ไม่ค่อยดี และเป็นคนเดิมๆ เป็นเหล้าเก่า
ในขวดใหม่
63.4
พอใจ
โดยให้เหตุผลว่า
เชื่อว่าได้เลือกมาอย่างดีที่สุด และได้ผู้ที่
มีความรู้ความสามารถเหมาะสมแล้ว
อยากให้โอกาสได้ทำงานพิสูจน์ความสามารถ
และเห็นว่า ครม. ชุดนี้ ดีกว่าชุดที่แล้ว
36.6
 
             2. ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ ครม. ชุดใหม่ในการแก้ปัญหาหลัก 4 ประการของประเทศไทย
                 พบว่า

 
เชื่อว่าแก้ได้
(ร้อยละ)
เชื่อว่าแก้ไม่ได้
(ร้อยละ)
ไม่แน่ใจ
(ร้อยละ)
ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
4.3
69.0
26.7
ปัญหาการแตกความสามัคคีของคนในชาติ
10.2
56.5
33.3
ปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพ
14.1
40.9
45.0
ปัญหาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
27.3
26.0
46.7
 
             3. เรื่องที่ประชาชนต้องการให้ ครม. ชุดใหม่ ดำเนินการเร่งด่วนเป็นอันดับแรก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
แก้ปัญหาเศรษฐกิจและค่าครองชีพ
50.0
สร้างความสามัคคีของคนในชาติ หาทางยุติความขัดแย้งและการชุมนุม
26.4
ฟื้นฟูพื้นที่ที่เสียหายจากภัยน้ำท่วม
5.4
แก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
2.2
แก้ปัญหาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหาไทยกัมพูชา
1.1
แก้ปัญหาการทุจริต คอร์รัปชั่น
0.6
อื่นๆ เช่น แก้ปัญหาจราจร ยาเสพติด ล้มเลิกการแก้ไข รธน.
สานต่อคดีของอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ฯลฯ
11.5
ไม่มีความเห็น
2.8
 

             4. สิ่งที่อยากฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่ คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ให้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม ไม่คอร์รัปชั่น
กล้าให้ตรวจสอบ
21.4
จริงจังในการแก้ปัญหา ทำงานโดยคำนึงประโยชน์ของบ้านเมือง
เป็นหลัก
19.9
เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ และใช้เงินประเทศอย่างรอบคอบ
12.8
ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เร่งทำงานให้เห็นผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
10.4
เร่งสร้างความสามัคคี แก้ปัญหาความขัดแย้ง เพื่อยุติการชุมนุม
10.2
ต้องการให้ลาออก ปรับ ครม. อีก หรือยุบสภาไปเลย
3.4
เลิกจัด ครม. แบบระบบโควต้า ควรพิจารณาตามความรู้ความสามารถ
1.3
อื่นๆ เช่น แก้ปัญหาไทยกัมพูชาให้ได้ อย่าลืมนึกถึงปัญหาทางภาคใต้
สานต่อคดีของอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เร่งแก้ปัญหา
ทุกๆ อย่างโดยเร่งด่วน ประชาชนเฝ้าดูอยู่ ฯลฯ
13.0
ไม่มีความเห็น
7.6
 

             5. จากการแต่งตั้ง ครม. ครั้งนี้ มีผลต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
                 นายกรัฐมนตรีอย่างไร พบว่า

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นมาก
2.6
ค่อนข้างเชื่อมั่น
31.0
ไม่ค่อยเชื่อมั่น
51.7
ไม่เชื่อมั่นเลย
14.7
 

             6. สำหรับความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการปรับ ครม. พบว่า

 
ร้อยละ
เชื่อว่าสถานการณ์จะเหมือนเดิม
45.5
เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
22.3
เชื่อว่าสถานการณ์จะแย่ลง
15.4
ไม่แน่ใจ
16.8
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในประเด็นต่อไปนี้
                         1. ความเห็นที่มีต่อ ครม. ชุดใหม่ในภาพรวม
                         2. ความเชื่อมั่นในความสามารถของ ครม. ชุดใหม่ ในการแก้ปัญหาหลักของประเทศไทย
                         3. เรื่องที่ต้องการให้ ครม. ชุดใหม่ดำเนินการเร่งด่วนเป็นอันดับแรก
                         4. สิ่งที่อยากฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่
                         5. ความเชื่อมั่นที่มีต่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี หลังประกาศรายชื่อ ครม. ชุดใหม่
                         6. ความเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยหลังมี ครม.
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล   ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้น
สุ่มถนน แล้วจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,155 คน
เป็นเพศชายร้อยละ 46.8 และเพศหญิงร้อยละ 53.2
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีรวบรวมเก็บข้อมูล:
                  การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 25 กันยายน 2551
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 26 กันยายน 2551
 
สรุปผลการสำรวจ: ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
540
46.8
             หญิง
615
53.2
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
253
21.9
             26 - 35 ปี
510
44.2
             36 - 45 ปี
252
21.8
             46 ปีขึ้นไป
140
12.1
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
298
25.8
             ปริญญาตรี
717
62.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
140
12.1
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
63
5.4
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
767
66.5
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
85
7.4
             รับจ้างทั่วไป
95
8.2
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
28
2.4
             นิสิต นักศึกษา
112
9.7
             อื่นๆ
5
0.4
รวม
1,155
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776